27.8 C
Thailand
วันอาทิตย์, ตุลาคม 1, 2023
หน้าแรกข่าวสาร-สาระกทม. เริ่มปรับเพิ่ม 11% คนยังไม่จ่าย "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"

กทม. เริ่มปรับเพิ่ม 11% คนยังไม่จ่าย “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”

Published on

โครงข่ายรถไฟฟ้ากรุงเทพและปริมณฑล

spot_img

กทม. เริ่มปรับเพิ่ม 11% คนยังไม่จ่าย “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า 31 สิงหาคม ถือเป็นวันสุดท้ายของการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทั้งนี้ถ้าจ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร ได้ถึงเวลาเที่ยงคืน และถ้าจ่ายที่สำนักงานเขตหรือธนาคารกรุงไทยจ่ายได้ตามเวลาเปิดปิดของเขตและธนาคาร

ภาษีที่ดิน คือ การเรียกเก็บภาษีตามกฎหมายที่มาแทนที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่มีความซ้ำซ้อนกัน โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ

สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต ส่วนเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา

ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา มีการลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 15% ตามปีภาษี 2566 โดยมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4 ประเภทที่ได้รับการลดอัตราภาษีลง ดังนี้

ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม สำหรับที่ดินที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.01-0.1% ซึ่งแบบได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่า 50-125 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 125-150 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 150-550 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 550-1,050 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,050 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สำหรับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย จะต้องเสียภาษีในอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% โดยแบ่งตามประเภทของเจ้าของที่ดิน ดังนี้

บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา 

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-10 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
  • ที่ดินมูลค่า 10-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม  เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยถูกนำมาใช้ในลักษณะออฟฟิศ สำนักงาน โรงแรม หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร โดยอัตราภาษีตั้งแต่ 0.3-0.7% ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

เป็นที่ดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ โดยปล่อยให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่า จะต้องเสียภาษีที่ดินว่างเปล่าตั้งแต่ 0.3-0.7% เช่นกัน โดยคำนวณได้ ดังนี้

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท

Latest articles

เดือนตุลาคม มีวันหยุดยาว 2 ช่วง

เดือนตุลาคม ​ มีวันหยุดยาวอะไรบ้าง หยุด 2 ช่วงวันไหนบ้าง เช็คเลย

รถไฟขบวนด่วนพิเศษ กรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่ ตกราง งดเดินรถเชียงใหม่ – กทม.

30 ก.ย.66 เวลา 05:48 น. รถไฟขบวนด่วนพิเศษที่ 13 กรุงเทพอภิวัฒน์-เชียงใหม่ ตกราง หลังน้ำป่าทะลัก ระหว่างสถานีแก่งหลวง-บ้านปิน จ.แพร่ จนท.อยู่ระหว่างกู้ขบวนรถฯ

CentralThe1CreditCard เที่ยวญี่ปุ่น 2566 ลด Agoda 12%

โปรตั้งแต่สนามบินไปจนถึงญี่ปุ่น ไม่ว่าจะบิน ทัวร์ตะลุยทำกิจกรรมต่างๆ ยันเข้าที่พัก แค่มีบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ใบเดียวจบ

ตู้ Drop&Go ของ Glean(กรีน) คืออะไร?

เก็บขวดใสใส่ตู้ ตู้ Drop&Go สะสมแต้มแลกรางวับ

More like this

เดือนตุลาคม มีวันหยุดยาว 2 ช่วง

เดือนตุลาคม ​ มีวันหยุดยาวอะไรบ้าง หยุด 2 ช่วงวันไหนบ้าง เช็คเลย

CentralThe1CreditCard เที่ยวญี่ปุ่น 2566 ลด Agoda 12%

โปรตั้งแต่สนามบินไปจนถึงญี่ปุ่น ไม่ว่าจะบิน ทัวร์ตะลุยทำกิจกรรมต่างๆ ยันเข้าที่พัก แค่มีบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ใบเดียวจบ

ตู้ Drop&Go ของ Glean(กรีน) คืออะไร?

เก็บขวดใสใส่ตู้ ตู้ Drop&Go สะสมแต้มแลกรางวับ